วัยรุ่น: ฟังปัญหาเพื่อนแล้วกังวลใจ จะมีทางออกอย่างไร

 

 

      ต้องแยกแยะให้ได้ว่าปัญหานั้นเป็นปัญหาของใคร ปัญหาของเพื่อนก็เป็นปัญหาของเพื่อนไม่ใช่ปัญหาของเรา

 

     การเห็นอกเห็นใจเพื่อนเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเห็นใจมากจนเกินไป หรือคล้อยตามปัญหาเพื่อนไปเสียทุกอย่างจะทำให้เรามองปัญหาได้ไม่สมเหตุสมผล และทำให้ช่วยเพื่อนไม่ได้


     การคิดจะช่วยเพื่อน เราก็ต้องเข้าใจปัญหาของเพื่อนให้ชัดเจนมากกว่าเขา เราจึงจะช่วยเพื่อนได้

 

     ไม่ต้องเสียใจ หากช่วยเพื่อนแก้ปัญหาไม่ได้ ต้องเข้าใจว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีหลายประเภท บางปัญหาสามารถแก้ไขได้ บางปัญหาไม่สามารถแก้ไขได้ และบางปัญหาสามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาได้

 

     การพูดคุยเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยทำให้เพื่อนรู้สึกเบาใจขึ้นได้บ้าง ถึงแม้ว่าปัญหานั้นจะยังไม่สามารถแก้ไขได้ก็ตาม แต่ก็ถือว่าได้ช่วยเหลือเพื่อนไปเปราะหนึ่งแล้ว

 

รำคาญเพื่อนที่ช่วยแล้วติด มีอะไรต้องให้เราช่วยคิด ช่วยทำอยู่เรื่อย!!!

  • ช่วยเหลือเพื่อนได้เป็นสิ่งดี แต่การช่วยเหลือต้องไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อน
  • ต้องหัดไม่เกรงใจเพื่อนบ้าง รู้จักปฏิเสธเมือถึงคราวที่เราได้ช่วยเหลือเพื่อนเต็มที่แล้ว
  • พึงระลึกว่า หลักสำคัญของการช่วยเหลือเพื่อนคือ ต้องช่วยทำให้เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
  • หากเพื่อนมีนิสัยชอบพึ่งพิง ไม่ยอมทำอะไรด้วยตัวเองก็ต้องกระตุ้น ชม และให้กำลังใจเพื่อนทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองให้ได้ ถ้าเพื่อนนึกวิธีการแก้ไขไม่ออกจริงๆ เราก็บอกวิธีแก่เพื่อนไปเลย และให้เขาไปทำด้วยตัวเอง
  • ข้อสำคัญ เราต้องตั้งกติกากับเพื่อนไว้ก่อนว่า เราจะช่วยเหลือเขาได้แค่ไหน

 

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่25 กรกฏาคม 2546