update : 26-06-55 |
เขตหนองจอก |
“ธารน้ำใสสะอาด
พื้นที่กว้างใหญ่
ผดุงบทบาทบรมบวร |
|
พฤกษชาติเขียวขจี
มหาวิทยาลัยระดับชาติ
พัฒนาประชากรหนองจอก” |
เขตหนองจอก เป็นเขตการปกครองที่มีพื้นที่มากที่สุดของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตสุวินทวงศ์ ซึ่งถือเป็นเขตเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยสภาพแวดล้อมดีทางฝั่งพระนคร |

Map of Bangkok, Thailand, highlighting the district (khet) Nong Chok (หนองจอก) |
|
ประวัติศาสตร์ |
เดิมเขตหนองจอกมีฐานะเป็น อำเภอหนองจอก ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2440 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้ที่มาตั้งถิ่นฐานพวกแรก ๆ เป็นชาวไทยมุสลิมที่อพยพมาจากหัวเมืองภาคใต้
โดยตั้งชุมชนตามแนวคลองแสนแสบซึ่งได้มีการขุดลอกขยายคลองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
และอีก 5 ปีต่อมา อำเภอหนองจอกก็ได้มาขึ้นอยู่กับจังหวัดมีนบุรีซึ่งเป็นจังหวัดที่ตั้งขึ้นใหม่ในมณฑลกรุงเทพ
ต่อมา เนื่องจากสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่
1 ในปี พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีได้ถูกยุบลงเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดพระนคร
ส่วนอำเภอหนองจอกถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
แต่ในปีถัดมาก็ได้ย้ายมาเป็นเขตปกครองในจังหวัดพระนคร
เนื่องจากความไม่สะดวกในการเดินทางและการติดต่อระหว่างกัน
ซึ่งอำเภอหนองจอกก็ได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตหนองจอก เมื่อมีการรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ.
2515 |
ที่ตั้งและอาณาเขต |
เขตหนองจอกตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของกรุงเทพมหานคร
มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
|
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา
(จังหวัดปทุมธานี)
มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดปทุมธานีเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางน้ำเปรี้ยวและอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
(จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองสิบสี่ คลองแสนแสบ คลองนครเนื่องเขต
และคลองหลวงแพ่ง เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง
มีคลองลำตาอิน คลองกระทุ่มล้ม คลองพะอง และคลองกอไผ่ เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตมีนบุรีและเขตคลองสามวา
มีลำนกแขวก ลำต้นไทร ลำหิน คลองแสนแสบ คลองตาเตี้ย ลำแยกแบนชะโด
และคลองเก้า เป็นเส้นแบ่งเขต
|
การแบ่งเขตการปกครอง |
เขตหนองจอกแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 8 แขวง (khwaeng) ได้แก่ |
1.
|
กระทุ่มราย
|
(Krathum Rai)
|
|
2.
|
หนองจอก
|
(Nong Chok)
|
|
3.
|
คลองสิบ
|
(Khlong Sip)
|
|
4.
|
คลองสิบสอง
|
(Khlong Sip Song)
|
|
5.
|
โคกแฝด
|
(Khok Faet)
|
|
6.
|
คู้ฝั่งเหนือ
|
(Khu Fang Nuea)
|
|
7.
|
ลำผักชี
|
(Lam Phakchi)
|
|
8.
|
ลำต้อยติ่ง
|
(Lam Toiting)
|
|
|
จากวิกิพีเดีย
สารานุกรมเสรี |